Sunday, May 10, 2009

Dreaming in Public


Dreaming in Public

Curated by Brian Curtin


Sheba Chhachhi
Araya Rasdjarmrearnsook
Jakkai Siributr
Hema Upadhyay

Gallery Soulflower, Basement Level, Silom Galleria, Bangkok
15 May – 25 July 2009


Opening Reception and Book Launch:
Friday, 15 May, from 6.30pm
RSVP: Ms. Oui +6626300032


Her Excellency Latha Reddy, Indian Ambassador to Thailand is the chief guest of the event.
the artists will be in attendance on the opening night.

Gallery Soulflower is delighted to announce its first major exhibition and publication for 2009. Dreaming in Public showcases new work by major artists from India and Thailand. The title is a definition of visual art that gains its potency because of a variety of implications. Dreaming can refer to unconscious thought processes, the infinite and amorphous world of the imagination, extrasensory perception, desire and ambition in terms of change, ideal experience and much more in terms of theory and history. The idea of public, on the other hand, is definitively distinct from general notions of the private and the personal commonly afforded to the state of dreaming. Ideas of public include community and consensus. Dreaming in Public asks how notions of both ‘dreaming’ and ‘public’ may be affected less by their juxtaposition than mutual infiltration. How are notions of private and non-private, personal and impersonal, free-will and societal structures, the conscious and unconscious and individual desires for a life different from contemporary realities understood through visual art? Dreaming in Public aims to focus on a certain radicalism implied by this title. Each of the artists draws on the rich suggestions of an ostensible dichotomy between different spheres of experience to insist on the challenge of forms of subjectivity implied by the idea of ‘dreaming’. The artworks included variously ask us to look anew at major issues with contemporary art practices: issues that include globalization, national identity, the influence of canonical art histories, and the cultural significance of particular media.

Dreaming in Public

Curator ฝั น ก ล า ง ฝู ง ช น

ดร. ไบรอัน เคอร์ติน


ชีบา ชฮาชิ
Sheba Chhachhi
อารยา ราษฎร์จำเริญสุข Araya Rasdjarmrearnsook
จักกาย ศิริบุตร Jakkai Siributr
เฮมา อุปัธยาย Hema Upadhyay


หอศิลป์ โซลฟลาวเวอร์ ชั้นใต้ดิน สีลมแกเลอเรีย กรุงเทพฯ
15 พฤษภาคม – 25 มิถุนายน 2552

เปิดนิทรรศการและเปิดตัวหนังสือ
วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม ตั้งแต่ 18.30 น.Friday, 15 May, from 6.30pm
สำรองที่ โทร +66 (0)2630-0032 (คุณอุ๋ย)

ฯพณฯ นางลาธา เรดดี (Latha Reddy) เอกอัครราชฑุตอินเดียประจำประเทศไทย
และศิลปินทุกคน จะร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด


หอศิลป์ โซลฟลาวเวอร์ ยินดีประกาศการเปิดนิทรรศการและเปิดตัวหนังสือสำคัญสำหรับปี 2552.

Dreaming in Public (ฝันกลางฝูงชน) นำเสนอผลงานใหม่โดยศิลปินชั้นนำจากอินเดียและไทย. ชื่อของนิทรรศการนี้ มาจากนิยามของทัศนศิลป์ในฐานะที่มีพลังสื่อนัย ส่อความหมาย ได้หลายหลาก. การฝัน (dreaming) โยงใยไปถึงกระบวนการคิดในระดับไร้สำนึก, ไปถึงโลกแห่งจินตนาการอันไร้ขอบเขตและมีรูปไหลลื่น, "อุตริมนุษยผัสสะ", แีรงปรารถนาและแรงทะยานอยาก ที่จะพลิกฟ้าพลิกดิน, ประสบการณ์ในอุดมคติ อีกทั้งยังเชื่อมโยงไปถึงทฤษฎีและภูมิหลัง ต่างๆอีกมากมาย. ในทางตรงกันข้าม แนวคิดว่าด้วย สาธารณะ (the public) ย่อมมีนัยต่างขั้วกับ "รโหสภาพ" (the private) และเรื่องส่วนตัว (the personal) ซึ่งเป็นสภาวะที่มีสิทธิในการ "ฝัน". ในขณะัที่แนวคิดเรื่องสาธารณสภาวะ เป็นเรื่องของ ชุมชนคนจำนวนมาก เป็นเรื่องของฉันทามติ คือข้อตกลงร่วมกันของคนหลายคน.

Dreaming in Public ถามว่า โลกส่วนตัวแห่งการฝันกับโลกส่วนรวมสาธารณ์อาจได้รับผลกระทบจากการเทียบเคียง กัน น้อยกว่าได้รับผลจากการที่โลกทั้งสองส่งอิทธิพลต่อกัน. แล้วความแตกต่าง ระหว่างรโหสภาพ (private) กับ อรโหสภาพ (non-private), ระหว่างโลกส่วนตัวกับโลกส่วนรวม, ระหว่างเจตจำนงเสรีกับกรอบกำักับสังคม, ระหว่างจิตสำนึกกับจิตไร้สำนึก และ ระหว่างแรงปรารถนาของปัจเจกบุคคลที่มีต่อชีวิตของตน กับความเป็นจริงร่วมสมัยที่เข้าใจไ้้ด้จากทัศนศิลป์ เป็นอย่างไร? Dreaming in Public พุ่งประเด็นไปที่ความต่างอย่างสุดโต่ง อย่างที่ชื่อบอกไว้. ศิลปินแต่ละคนต่างเสนอสาระระหว่างปริมณฑลแห่งประสพการณ์ต่าง ขั้ว เพื่อยืนยันการท้าทายรูปแบบต่างๆที่อัตวิสัยกำหนดนัยให้ความหมายของ "การฝัน". ศิลปะในนิทรรศการนี้ ตั้งคำถามสารพัดใส่เรา ให้เราเพ่งพินิจถึงประเด็นสำคัญอันเกี่ยวพันกับกิจกรรมศิลปะร่วมสมัย; นั่นคือเรื่องว่าด้วย โลกาภิืวัตน์, อัตลักษณ์ของชาติ, อิทธิพลจากจารีตทางประวัติศาสตร์ศิลป์, และ นัยสำคัญทางวัฒนธรรมของสื่อบางจำพวก.




No comments:

Post a Comment