

The Ethics of Encounter
Contemporary Art from India and Thailand
Ranbir Kaleka
Vidya Kamat
Manjunath Kamath
Sudsiri Pui-Ock
Navin Rawanchaikul
Pinaree Sanpitak
Rirkrit Tiravanija
Chintan Upadhyay
Curated by Pandit Chanrochanakit with Brian Curtin
Gallery Soulflower, Basement Level, Silom Galleria, Bangkok
16 August – 27 September 2008.
Opening Reception and Book Launch:
Saturday, 16 August 2008, from 6.30pm
RSVP: Ms. Rung +662 630 0032
Pinaree Sanpitak will host a special event titled 'Breaking the Ice' for the opening reception.
Gallery Soulflower is delighted to announce an ambitious and provocative showcase of some of the best contemporary art from India and Thailand. A book detailing the work of the artists and the critical issues raised by their juxtaposition will be launched simultaneously.India and Thailand have a long history of exchange and integration, yet both countries retain a strong sense of autonomy. This dichotomy between mutual influence and issues of authentic individuality is highlighted in our global age. On the one hand, we are told that trans-national circuits are more pervasive than ever but, on the other, we are regularly made aware of often violent expressions of cultural integrity and national identity.The Ethics of Encounter stages a relationship between Thailand and India in terms of a seemingly simple but nevertheless complex claim: one should not expect an 'other' to perform the way one expects. The question "Who am I?" in terms of cultural and national identity becomes heightened when one is faced with who we think we are not. However, rather than addressing issues of 'Thai-ness' and 'Indian-ness', curator Pandit Chanrochanakit with critic Brian Curtin seek to present this particular encounter as a means of challenging and subverting broader expectations of cultural and national differences. Questions of translation, transference and transformation may be extrapolated to the contemporary contexts of globalism and internationalism. How do we define what is different from 'us' in the current era?The Ethics of Encounter showcases a variety of media and methods, from video and painting to performance and relational aesthetics. In keeping with Gallery Soulflower's concern to engage the best of contemporary art in the region, the artists included range from the internationally celebrated to the locally lauded and the emergent.
The Ethics of Encounter จริยธรรมแห่งการพบพาน
งานแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยจากศิลปินอินเดีย และ ศิลปินไทย
รันบีร์ คาเลคา
วิเดีย กามัส
มัญชุ นาท กามัท
สุดสิริ ปุยอ๊อก
นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล
พินรี สัณหพิทักษ์
ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช
ชินทัน อุปัดทัย
โดย ดร. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ ร่วมด้วย ดร. ไบรอัน เคอร์ติน,
ณ แกลเลอรี่ โซลฟลาวเวอร์, ชั้นใต้ดิน, สีลมแกลเลอเรีย, กรุงเทพมหานคร
ระหว่าง 16 สิงหาคม - 27 กันยายน 2551
ขอเชิญแขกผู้มีเกียรติร่วมเปิดนิทรรศการ
ใน วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม 2551
คุณ พินรี สัณหพิทักษ์ ร่วมเป็นแขกรับเชิญพิเศษเปิดงานแสดงชุด
"Breaking The Ice"
แกลเลอรี่ โซลฟลาวเวอร์ ภูมิใจเสนอผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยที่จะกระตุ้นแรงปรารถนาและความทะเยอทะยานอย่างแรงกล้าด้านวัฒนธรรมกับการพบพาน ในงานแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยชิ้นเยี่ยม โดยศิลปินชื่อดังของอินเดียและไทย ในงานครั้งนี้ศิลปินได้สื่อถึงความพยายามปลดปล่อย ขับเคลื่อนความคิด ความรู้สึกและจิตวิญญาณของการถ่ายทอดออกสู่สังคมอินเดียและไทย มีความสัมพันธ์ยาวนานทางประวัติศาสตร์ เกิดการแลกเปลี่ยนและถูกผนึกเชื่อมต่อให้เป็นส่วนเดียวกัน โดยทั้งสองประเทศยังคงไว้ซึ่งความเป็นอิสระทางความคิด นี่คือการผสมผสาน ระหว่างวัฒนธรรมและความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสีสันให้โลกของเรา และเรานำเสนอวัฏฏะของการแลกเปลี่ยนทางอารยธรรมที่แทรกซึมอยู่ในทั้งสองประเทศซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ อีกด้านหนึ่งก็ธำรงความแตกต่างของแก่นสารทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของชาติไว้ด้วยกัน นิทรรศการ "จริยธรรมของการพบพาน" เป็นเวทีแสดงความสัมพันธ์ระหว่างไทยและอินเดีย ที่มีความเกี่ยวข้องในวิถีอันเรียบง่ายและงดงาม แต่ถึงกระนั้นก็ตามยังมีการทับซ้อนทางความคิดว่า เมื่อคนคนหนึ่งเกิดคาดหวังในสิ่งที่เขาเป็น: คำถามคือ"แล้วฉันคือใคร?" ภายใต้เงื่อนไขทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของชาติเป็นสิ่งที่สูงค่าแต่เมื่อเผชิญหน้ากับสิ่งนั้นแล้ว บางทีอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดเอาไว้ก็ได้ อย่างไรก็ตามการพบกันใน "ความเป็นไทย" และ "ความเป็นอินเดีย" ก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่เกินเอื้อมในนิทรรศการครั้งนี้ดร. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ ทำหน้าที่ภัณฑารักษ์ ร่วมด้วย ดร. ไบรอัน เคอร์ติน นำเสนอนิทรรศการเฉพาะกิจที่ท้าทายกำแพงแห่งเชื้อชาติและวัฒนธรรม เพื่อทดลองเสนอว่าบางทีอาจไม่มีบทสรุปที่แน่ชัดในนิยามของคำว่าร่วมสมัย เพราะมีการถ่ายทอดและเปลี่ยนระหว่างอารยธรรมจนกลายเป็นวัฒนธรรมสากลไปแล้ว เรายังจะชี้ชัดลงไปได้หรือไม่ว่า สิ่งใดที่เป็นอัตลักษณ์/เอกลักษณ์ "ของเรา" อยู่ทุกวันนี้ ? นิทรรศการ " จริยธรรมแห่งการพบพาน " ได้รวบรวมงานศิลปกรรมหลากหลายสื่อและรูปแบบ, สื่อวิดิทัศน์, งานจิตรกรรม, สื่อผสม, จนถึงนาฏลีลาของการแสดงแกลเลอรี่ โซลฟลาวเวอร์ หวังใจว่าจะนิทรรศการครั้งนี้เป็นงานแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยที่น่าสนใจที่สุดแห่งหนึ่งในพื้นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราได้รับเกียรติจากศิลปินชาวไทยและอินเดียที่มีผลงานปรากฏและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมาร่วมแสดงงานในครั้งนี้